วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

History of art.

History of art.

            ประวัติศาสตร์ศิลปะ
                                                        "ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น"
                                     Ars longa, vista brevis
                                                           - ศิลป์  พีระศรี-

       การศึกษาประวัติศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากประวัติศาสตร์จะบ่งบอกความเป็นมาและวิวัฒนาการว่ามีแบบอย่าง ความเคลื่อนไหว แนวคิด ความเชื่ออย่างไร 
      การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์ทำให้เราทราบถึงรูปแบบผลงานการสร้างสรรค์และวิวัฒนาการศิลปะของมนุษยชาติตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคปัจจุบัน ศึกษาแนวคิดความเชื่อ รูปแบบและบริบทแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของศิลปกรรมของแต่ละยุคสมัย ที่จะเป็นแบบอย่างเพื่อการพัฒนา ยกระดับคุณภาพของงานศิลปะหรืองานสร้างสรรค์ในยุคปัจจุบัน นอกจากนั้นการศึกษาประวัติศาสตร์ ยังช่วยให้เกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของงานศิลปะ มีความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติ



ตัวอักษรย่อที่บอกช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์

               การศึกษาประวัติศาสตร์จำเป็นจะต้องใช้การศึกษาบริบทของช่วงเวลา หรือเส้นแบ่งเวลา (Time line) เป็นตัวกำหนดเหตุการณ์ รูปแบบ ก่อนหลัง การกำหนดยุคสมัยเพราะทำให้ง่ายต่อการจัดเรียงและทำความเข้าใจ ตัวย่อของเวลาในทางประวัติศาสตร์ที่มักพบเห็นได้บ่อย มีดังนี้
·         B.C. (Before Christ) หมายถึง ก่อนคริสตกาล หรือก่อน ค.ศ. 1 

·         C.E. (Common Era) หมายถึง สมัยคริสตกาล เริ่มนับจาก ค.ศ. 1
·         A.D. (Anno Domini) หมายถึง ปีแห่งพระผู้เป็นเจ้า หรือเรียกว่าคริสต์ศักราช
·         C. (Century) หมายถึง ศตวรรษ หรือ ช่วงเวลาหนึ่งร้อยปี เช่น ศตวรรษที่ 1 หมายถึง ช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1 – 100

           การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

           ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์นั้นนักประวัติศาสตร์ได้แบ่งยุคสมัยต่าง ๆ โดยยึดเอาจุดเริ่มต้นของความมีอารยธรรมก้าวหน้าของมนุษย์ กล่าวคือการรู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อใช้ในการจดบันทึก ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
             
·       สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-historic Arts)
·       สมัยประวัติศาสตร์ (Historic Arts)           

                 นอกจากนี้การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะยังมีการแบ่งออกเป็นศิลปะตะวันตกและตะวันออก เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ทำความเข้าใจลักษณะของงานศิลปะของแต่ละพื้นที่  

3 ความคิดเห็น: